ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์
การผสานความจริง
และ
จินตนาการ

Supanut Maiyos
ศุภณัฐ ใหม่ยศ
Technology artist

Lalinthorn Phencharoen, C.13 : E. Swollen Head, 2013, Ink on paper, 42.1 x 29.7 cm.
การนำความลวงมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบความจริง เพื่อการนำเสนอสภาพความจริง เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในผลงานชุด Sinnerman และ Flora and Mara ของศิลปิน ลลินธร เพ็ญเจริญ ซึ่งแสดงทัศนะวิพากษ์ว ิจารณ์พฤติกรรมเชิงลบที่เกิดขึ้นในสังคม ผ่านการนำเสนอในรูปแบบของภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพเหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบ และวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมเชิงลบต่าง ๆ ได้อย่างแยบยล
ด้วยรูปแบบของภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงลักษณะของการเผยแพร่ความข้อเท็จจริงที่เกิดจากการศึกษาความจริง อาจจะกล่าวได้อีกทางหนึ่งว่า เป็นการหยิบยืมความจริง เพื่อนำมาเสนอสภาพความจริง แต่กระนั้นสิ่งที่แตกต่างออกไปในผลงานทั้ง 2 ชิ้นคือ สิ่งที่ถูกหยิบยืม หรือเป็นต้นแบบนั้น เป็นความจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงสิ่งที่คัดลอกมาจากความคิดของศิลปิน
แน่นอนว่าเ มื่อพิจารณาภาพทั้งหมดแล้วนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ศิลปินสร้างขึ้น แต่การสร้างในที่นี้ไม่ใช่การจินตนาการขึ้นมาเองทั้งหมด แต่เป็นการอ้างอิงจากคุณสมบัติ และคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกหยิบยืมมาส่วนหนึ่ง และนำมารวมกับจินตนาการของศิลปินอีกส่วนหนึ่ง

Lalinthorn Phencharoen, C.13 : E. Swollen Head, 2013, Ink on paper, 42.1 x 29.7 cm.
ลักษณะของการหยิบยืมเป็นการหยิบยืมจากสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ลักษณะกายภาพของกระดูก ลักษณะกายภาพของเห็ด หรือลักษณะโครงสร้างของมนุษย์ ตัวอย่างจากผลงานชื่อ C13 : E. Swollen Head ที่ใช้การวาดเส้นแสดงโครงสร้างกะโหลกของมนุษย์เพศหญิงผู้หนึ่งในลักษณะที่ถูกตัดขวาง เหมือนลักษณะการบันทึกรูปแบบภาพประกอบทางการแพทย์ เพื่อให้เห็นโครงสร้างภายใน ด้วยรูปลักษณะของกะโหลกที่ผิดแปลกไปจากปกติ โดยมีลักษณะที่นูนยาวออกไป เพื่อให้รับกับทรงผม ซึ่งลักษณะของทรงผมนั้นชวนให้นึกถึงทรงผมยอดนิยมของชนชั้นสูงหรือคุณหญิงคุณนาย และความจงใจในการวาดโครงสร้างของกะโหลกเพียงอย่างเดียว ไม่นำอวัยวะภายใน เช่น สมอง มาใส่ด้วยนั้น ก็เป็นความต้องการที่จะบ่งบอกสภาพของคนกลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นผู้ดี มีความร่ำรวย แต่ทุกสิ่งที่มีกลับไร้ซึ่งสมอง หรือความคิดของตนเอง
ลักษณะของการหยิบยืมเป็นการหยิบยืมจากสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น ลักษณะกายภาพของกระดูก ลักษณะกายภาพของเห็ด หรือลักษณะโครงสร้างของมนุษย์ ตัวอย่างจากผลงานชื่อ C13 : E. Swollen Head ที่ใช้การวาดเส้นแสดงโครงสร้างกะโหลกของมนุษย์เพศหญิงผู้หนึ่งในลักษณะที่ถูกตัดขวาง เหมือนลักษณะการบันทึกรูปแบบภาพประกอบทางการแพทย์ เพื่อให้เห็นโครงสร้างภายใน ด้วยรูปลักษณะของกะโหลกที่ผิดแปลกไปจากปกติ โดยมีลักษณะที่นูนยาวออกไป เพื่อให้รับกับทรงผม ซึ่งลักษณะของทรงผมนั้นชวนให้นึกถึงทรงผมยอดนิยมของชนชั้นสูงหรือคุณหญิงคุณนาย และความจงใจในการวาดโครงสร้างของกะโหลกเพียงอย่างเดียว ไม่นำอวัยวะภายใน เช่น สมอง มาใส่ด้วยนั้น ก็เป็นความต้องการที่จะบ่งบอกสภาพของคนกลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นผู้ดี มีความร่ำรวย แต่ทุกสิ่งที่มีกลับไร้ซึ่งสมอง หรือความคิดของตนเอง
จากตัวอย่างภาพ C13 : E. Swollen Head จะสังเกตว่าเป็นการนำทั้งสองส่วนของความจริงและจินตนาการมารวมกัน แน่นอนว่าเมื่อรวมกันแล้วได้ก่อให้เกิดความลวงขึ้น แต่ด้วยการทำในรูปแบบของภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการแสดงข้อเท็จจริงขึ้นมา โดยข้อเท็จจริงที่ศิลปินเป็นผู้สร้าง ไม่ใช่ความจริงในลักษณะของกายภาพ แต่เป็นความจริงของพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม
การสร้างผลงานในรูปแบบของภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงพฤติกรรมเชิงลบของมนุษย์ที่ซ้อนอยู่ภายใน สามารถมองได้อีกมุมหนึ่งคือ การวาดภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์มักจะถูกสร้างเพื่อใช้ในการศึกษา ซึ่งการศึกษาทาง วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริง การสร้างสรรค์ของศิลปินโดยใช้รูปแบบนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความคิดที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมเชิงลบของมนุษย์ และตอกย้ำอย่างชัดเจนว่าสิ่งที่นำเสนอออกมาคือความจริงของพฤติกรรมเชิงลบที่มีอยู่ในบางกลุ่มคน
รูปลักษณะของพืชกินแมลงเป็นอีกรูปร่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ เพื่อนำเสนอความคิดของศิลปิน จากภาพ C13 : E. Swollen Head ซึ่งอยู่ในชุดผลงาน Sinnerman ที่ผสมผสานความจริงกับจินตนาการของศิลปิน แม้ว่าจินตนาการจะมีน้ำหนักมากกว่าก็ตาม แต่ภาพในชุด Flora and Mara สามารถสร้างความกลมกลืนระหว่างความจริงและจินตนาการ โดยให้ความรู้สึกของความจริงมากกว่าจินตนาการ
The study for female trap คือหนึ่งในตัวอย่างของผลงานชุด Flora and Mara ที่แสดงให้เห็นถึงความกลมกลืนระหว่างความจริงและจินตนาการ ภาพวาดพืชกินแมลงที่อาจเปรียบได้ว่ารูปนั้นคือ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จากลักษณะของถุงดักเหยื่อ และมีใบครอบปิดด้านบน ถ้าหากผู้ชมไม่รู้ลึกถึงรูปร่างของต้นไม้ชนิดนี้อย่างละเอียด ด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้น ทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อว่าสิ่งนั้นคือการหยิบยืม หรือวาดคัดลอกต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาอีกที แต่หากพิจารณาถึงรูปลักษณ์ และชื่อของผลงาน จะพบว่าลักษณะทั้งหมด ทั้งถุงดักเหยื่อ ฝาปิดถุง และส่วนของใบ ล้วนแล้วแต่ถูกสร้างจากการผสมสองส่วนระหว่างความจริงและจินตนาการแล้วทั้งสิ้น และมีข้อสังเกตคือศิลปินไม่เพียงนำลักษณะกายภาพที่คล้ายคลึงมาเท่านั้น แต่ยังนำลักษณะของนิสัยของพืชชนิดนี้มาเป็นส่วนประกอบในการบอกเล่าความคิดด้วยเช่นกัน ผลงานชิ้นนี้จึงเป็นการกล่าวถึงอวัยวะเพศหญิง ซึ่งเป็นสิ่งยั่วยวนสำหรับเพศชาย แต่แท้จริงแล้วกลับกลายเป็นกับดักที่หลอกล่อเพศชายให้ติดอยู่กับสิ่งนี้ตลอดชีวิต เหมือนแมลงที่ถูกยั่วยวนให้มาติด และกลายเป็นอาหารของต้นหม้อข้าวหม้อแกงในที่สุด

Lalinthorn Phencharoen, The study for female trap, 2013, Graphite on paper, 29.4 x 21 cm.
ผลงานของลลินธรจึงมีความโดดเด่นในการนำเสนอผ่านการสร้างลักษณะที่คล้ายกันระหว่างความจริงและจินตนาการที่เป็นเส้นบางๆ เพื่อลวงและเปิดเผยความจริง องค์ประกอบต่างๆ เช่น รูปแบบการวาดภาพประกอบเชิงวิทยาศาสตร์ ชื่อของผลง าน และรูปแบบการเขียนข้อมูล ล้วนแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพื่อให้ผู้ชมได้ต่อเติมความคิดในการค้นหา และศึกษาความคิดของศิลปิน ที่ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงลบของมนุษย์ ผ่านรูปลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในจินตนาการได้อย่างแยบยล