ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์
บันทึก
ไร้สมอง

Nuengchana Promrai
หนึ่งชนะ พรหมรัตน์
นักเขียนหมัดยางยืด

Lalinthorn Phencharoen, C.11 : Homo inaneness, 2013, Ink on paper, 84.1 x 59.4 cm
มนุษย์เริ่มศึกษาร่างกายคนและสัตว์ รวมไปถึงพืชพรรณ และบันทึกเป็นความรู้ เพื่อส่งต่อมานานนับพันปี มีการวาดภาพจดบันทึกลักษณะภายในของสิ่งต่างๆ อย่างละเอียด และส่งต่อความรู้นี้มาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน และภาพวาดเหล่านี้ก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ศิลปิน ลลินธร เพ็ญเจริญ ซึ่งมีความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ และชื่นชอบในศิลปะ เป็นแรงผลักดันให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงาน ที่ทำให้เราได้เห็นมุมมองของคนในยุคปัจจุบันผ่านรูปแบบการบันทึกภาพแบบโบราณ
ผลงานของศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากภาพวาดประกอบหนังสือวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือกายวิภาคในสมัยเรอนาซองค์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ผู้คนเริ่มมีความสนใจในเรื่องของร่างกาย และสิ่งต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจสิ่งนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และในเมื่อสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือที่จะสามารถเก็บภาพข้อมูลที่เห็นได้ จึงต้องอาศัยการจดบันทึกเป็นภาพ และข้อความอธิบาย ทำให้คนที่สามารถวาดรูปได้เก่งไม่ได้มีเพียงแค่จิตรกร แต่อาชีพหมอ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการศึกษารวบรวมข้อมูล ก็ต้องใช้ทักษะในการวาดภาพบันทึกข้อมูลที่หามาได้ ศิลปะในยุคนี้จึงถูกใช้ในการศึกษามากกว่าเพื่อความบันเทิงเริงใจ ในการวาดภาพแต่ละภาพนอกจจากศิลปินจะศึกษารูปแบบของภาพตามหนังสือภาพวิทยาศาสตร์แล้ว ศิลปินก็ยังต้องศึกษากายวิภาค และการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ที่จะนำมาวาด เพื่อให้ความหมายของภาพมีเนื้อหาที่ลึกซึ้ง เพราะสิ่งที่น่าสนใจของผลงานนั้นไม่ได้อยู่ที่กระบวนการแต่เป็นภาพที่ศิลปินหยิบมา และเนื้อหาที่ศิลปินใส่ลงไปในงาน ความน่าสนใจของผลงานนั้น คือการใช้ภาพเหล่านั้นมาจัดองค์ประกอบใหม่ให้เกิดเนื้อหาตามที่ศิลปินต้องการ โดยเนื้อหาก็มักจะได้มาจากคำที่ใช้ด่าหรือคำที่ใช้แทนคำด่า ตัวอย่างจะเป็นคำง่ายๆ ที่คนไทยใช้เปรียบเปรย เช่น คนโง่สมองกลวง หรือไม่มีสมอง ศิลปินหยิบคำเหล่านี้มาวาดด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกหยิบยืมมาจากภาพในหนังสือโบราณอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ใจความตามคำที่ศิลปินเลือก เหมือนกับภาพที่วาดหัวคนผ่าครึ่ง โดยที่ด้านในกะโหลกว่างเปล่า เป็นการเสียดสีการศึกษาได้อย่างดี ลายเส้นที่เก็บรายละเอียดภายในหัว แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการจดบันทึกสิ่งนี้อย่างมาก แต่เรื่องที่บันทึกทั้งหมดกลับเป็นภาพไร้สมองที่ไม่ได้มีอยู่จริง และถูกอุปโลกน์ขึ้นมาจากคำด่าที่ว่า “สมองกลวง” นอกจากนั้นการตั้งชื่อภาพของศิลปินก็ใช้ C.(Class) ตามด้วยจำนวนครั้งที่ทำผลงาน นำหน้าชื่อของผลงาน เหมือนกับการทำงานของศิลปินก็คือการทดลองเพื่อค้นหาความจริงบางอย่างเช่นเดียวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์

Lalinthorn Phencharoen, C.9 : Madam Gen(itilia), 2013, Ink on paper, 68.5 x 47.5 cm.
ผลงานของศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากภาพวาดประกอบหนังสือวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือกายวิภาคในสมัยเรอนาซองค์ ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ผู้คนเริ่มมีความสนใจในเรื่องของร่างกาย และสิ่งต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจสิ่งนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และในเมื่อสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือที่จะสามารถเก็บภาพข้อมูลที่เห็นได้ จึงต้องอาศัยการจดบันทึกเป็นภาพ และข้อความอธิบาย ทำให้คนที่สามารถวาดรูปได้เก่งไม่ได้มีเพียงแค่จิตรกร แต่อาชีพหมอ หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการศึกษารวบรวมข้อมูล ก็ต้องใช้ทักษะในการวาดภาพบันทึกข้อมูลที่หามาได้ ศิลปะในยุคนี้จึงถูกใช้ในการศึกษามากกว่าเพื่อความบันเทิงเริงใจ ในการวาดภาพแต่ละภาพนอกจจากศิลปินจะศึกษารูปแบบของภาพตามหนังสือภาพวิทยาศาสตร์แล้ว ศิลปินก็ยังต้องศึกษากายวิภาค และการใช้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ที่จะนำมาวาด เพื่อให้ความหมายของภาพมีเนื้อหาที่ลึกซึ้ง เพราะสิ่งที่น่าสนใจของผลงานนั้นไม่ได้อยู่ที่กระบวนการแต่เป็นภาพที่ศิลปินหยิบมา และเนื้อหาที่ศิลปินใส่ลงไปในงาน ความน่าสนใจของผลงานนั้น คือการใช้ภาพเหล่านั้นมาจัดองค์ประกอบใหม่ให้เกิดเนื้อหาตามที่ศิลปินต้องการ โดยเนื้อหาก็มักจะได้มาจากคำที่ใช้ด่าหรือคำที่ใช้แทนคำด่า ตัวอย่างจะเป็นคำง่ายๆ ที่คนไทยใช้เปรียบเปรย เช่น คนโง่สมองกลวง หรือไม่มีสมอง ศิลปินหยิบคำเหล่านี้มาวาดด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกหยิบยืมมาจากภาพในหนังสือโบราณอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ใจความตามคำที่ศิลปินเลือก เหมือนกับภาพที่วาดหัวคนผ่าครึ่ง โดยที่ด้านในกะโหลกว่างเปล่า เป็นการเสียดสีการศึกษาได้อย่างดี ลายเส้นที่เก็บรายละเอียดภายในหัว แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการจดบันทึกสิ่งนี้อย่างมาก แต่เรื่องที่บันทึกทั้งหมดกลับเป็นภาพไร้สมองที่ไม่ได้มีอยู่จริง และถูกอุปโลกน์ขึ้นมาจากคำด่าที่ว่า “สมองกลวง” นอกจากนั้นการตั้งชื่อภาพของศิลปินก็ใช้ C.(Class) ตามด้วยจำนวนครั้งที่ทำผลงาน นำหน้าชื่อของผลงาน เหมือนกับการทำงานของศิลปินก็คือการทดลองเพื่อค้นหาความจริงบางอย่างเช่นเดียวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์
อีกภาพหนึ่งซึ่งเป็นการหยิบยืมภาพประกอบมาใช้เช่นกัน แต่เป็นดอกไม้หรือพืชพันธุ์ต่างๆ ที่ใช้วิธีการจัดวางองค์ประกอบแบบเดียวกันกับภาพกะโหลก คือการนำมาจัดวางให้เกิดเป็นความหมาย แต่ศิลปินไม่เพียงแค่หยิบรูปลักษณ์ของพืชที่คล้ายกับอวัยวะเพศเพียงอย่างเดียว แต่พืชที่เลือกมานั้นเป็นจำพวกพืชกินแมลง ซึ่งพืชจำพวกนี้จะสร้างน้ำหวานไว้ที่ใบ จากนั้นก็จะรอจนกว่าแมลงจะลงมากิน จากนั้นใบด้านบนก็จะปิดลง และขังแมลงไว้เป็นอาหารของมัน วิธีการหาอาหารของพืชชนิดนี้ทำให้เนื้อหาของผลงานยิ่งตอกย้ำเนื้อหาเรื่องเพศมากยิ่งขึ้น ผู้ชายหรือผู้หญิงเมื่อชอบใครสักคน เราก็จะพยายามทำตัวเองให้ดูดี แต่งหน้าทาปาก ฉีดน้ำหอม หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนบุคลิกเฉพาะเวลาที่อยู่กับคนที่ชอบ เสมือนกับพืชที่สร้างน้ำหวาน เพื่อล่อแมลงมาติดกับ
ภาพที่ศิลปินวาดกายวิภาคจึงเสมือนการศึกษา และจดบันทึกแบบนักวิทยาศาสตร์สมัยก่อน แต่สิ่งที่จดบันทึกลงไปในผลงานของศิลปินกลับเป็นภาพมนุษย์ที่ไร้สมอง หรือมนุษย์ที่มีหน้าเป็นดอกไม้ที่คล้ายอวัยวะเพศตามถ้อยคำที่ผู้คนใช้ตัดพ้อและด่ากัน การหยิบบริบทของภาพในหนังสือเรียนในสมัยก่อนมาใช้ในยุคปัจจุบัน ก็ดูจะเป็นการเสียดสีการเรียนรู้การศึกษาของคนสมัยนี้อยู่ เพราะสิ่งที่ผู้คนสมัยนี้หมั่นศึกษา และหาข้อมูลก็คือ เรื่องใต้เตียงของดารา หรือเรื่องพิพาทของบุคคล และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่แน่นอนว่า สิ่งที่รับรู้มานั้นเป็นจริงหรือเท็จ แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ข้อมูลที่มีประโยชน์อะไรกับใครเลยทั้งนั้น สังคมไม่สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปต่อยอด เพื่อพัฒนาสิ่งใดได้เลย ทุกวันนี้คนในสังคมกำลังสนใจอะไร ศึกษาอะไร และกำลังค้นคว้าอะไร? ถึงเวลาหรือยังที่สังคมจะทบทวน และแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อเติมช่องว่างในสมอง ไม่ให้ว่างเปล่าอีกต่อไป