top of page

ห้องเรียนประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้สร้าง

pasuth_edited.png

Pasuth Sa-ingthong

พศุตม์ สอิ้งทอง

แว่น

p1.jpg

ประวัติศาสตร์มีความสำคัญกับการปลูกฝังความเป็นชาติ หนึ่งในวิธีการปลูกฝังความเป็นชาติเอาไว้นั่นก็คือการให้การศึกษา เริ่มต้นจากครอบครัวไปจนถึงสถาบันการศึกษา แล้วถ้าอำนาจหรือความคิดที่ปลูกฝังความเป็นชาตินิยมเอาไว้ ถูกทำให้อยู่ในรูปแบบของศิลปะ?

| อดีตที่ทำให้ย้อนกลับมาตั้งคำถาม

“เมื่อใดที่ห้องเรียนเป็นพื้นที่แห่งอำนาจ เด็กจะไม่กล้าคิด เมื่อไม่กล้าคิดก็ไม่เกิดความคิดหลากหลายมาแชร์กัน มันก็ไม่เกิดความสัมพันธ์ในการถาม ตอบ เถียง โต้แย้ง เรียนรู้ เอาข้อมูลที่เถียง...ที่โต้แย้งมาประมวลสรุป... มันไม่มี ก็ต้องรอฟังอย่างเดียว หรือกลายเป็นว่าฉันต้องเชื่อครูอย่างเดียว”

a2.png

เมื่อความไม่เชื่อทำให้เกิดการตั้งคำถาม สุธีจึงได้จำลอง ‘ห้องเรียนประวัติศาสตร์’ ที่ประกอบด้วยโต๊ะนักเรียน ซึ่งบนโต๊ะถูกสลักไปด้วยภาพนูนต่ำประกอบเรื่องราวเหตุการณ์เมื่อครั้ง 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ผลงานทุกชิ้นถูกจัดให้เป็นดั่งห้องเรียนห้องหนึ่ง ที่ผู้เรียนสามารถนำกระดาษมาฝนบนโต๊ะ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีบุคลิกลักษณะการฝนระบายให้ได้ภาพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งท่าทีการระบาย การเลือกใช้สีสัน การผสมผสานสี หรือการจัดองค์ประกอบของภาพใหม่  ภาพและข้อความทางประวัติศาสตร์การเมืองที่ปรากฏขึ้น บางภาพถูกตีแผ่ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และเห็นบ่อยจนเจนตา แต่บางภาพมักถูกลิดรอนจากสื่อให้ลืมเลือนไปกับกาลเวลาราวมิอยากจดจำ ผลงานชิ้นนี้ติดตั้งอยู่ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นประดุจสัญลักษณ์ทางการเมืองใหม่ของยุคสยามเก่า ด้วยบริบททางการเมืองที่เวลามีความเคลื่อนไหวตั้งแต่อดีตแรกสร้าง ทำให้อนุสาวรียนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งอำนาจทางการเมือง และอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย ผลงานในชุดห้องเรียนประวัติศาสตร์ ถูกนำเสนออกไปในบริบทที่แตกต่างกันไป เช่น ภาระของคนขาวหรือ ภาระของศิลปินไทย

| ใครเป็นผู้เรียนรู้ประวัติศาตร์

กล่าวได้ว่าผลงานของสุธีโดดเด่นด้วยกลวิธีที่แยบยล ดึงผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมกับผลงานอย่างมีชั้นเชิง ให้ผู้ชมได้ค่อยๆ ซึบซับประวัติศาตร์ที่ถูกสร้าง จากการที่ได้เข้ามานั่งอยู่บนโต๊ะนักเรียน ทำให้รู้สึกเหมือนกลับมาเรียนอีกครั้ง และการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ชมได้ช่วยเติมเต็มแนวความคิดที่แฝงไปด้วยความรู้ของสุธีให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้

| ศิลปะอยู่เหนือการเมือง

ศิลปะเพื่อชีวิต (Art for Life’s sake) หรือศิลปะเพื่อประชาชน  ศิลปะเพื่อชีวิตตามความหมายอันเข้มข้นของจิตร ภูมิศักดิ์ นั้น มีความหมายต่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อศิลปิน ดังคำประกาศของเขาว่า  ศิลปะเพื่อชีวิต หมายถึงศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อให้ส่งผลสะท้อนอย่างใดอย่างหนึ่งไปยังประชาชนผู้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ดู คือศิลปะที่มีบทบาทอันสำคัญต่อชีวิตประชาชนผู้เสพศิลปะ คือศิลปะที่มีความสัมพันธ์อยู่กับชีวิตทางสังคมของมวลประชาชน ศิลปะเพื่อชีวิตในทัศนะของประชาชน คือ ศิลปะที่ส่งผลสะท้อนอันมีคุณประโยชน์ไปยังชีวิตทางสังคมของมวลประชาชน คือ ศิลปะที่เปิดโปงให้ประชาชนมองเห็นต้นตอของความเลวร้ายของชีวิตในสังคม คือศิลปะที่ชี้แนะให้ประชาชนมองเห็นทางออกของชีวิตอันถูกต้อง และพร้อมกันนี้ก็ยั่วยุให้มวลประชาชนต่อสู้ และเคลื่อนไหวไปสู่จุดหมายปลายทางของชีวิตอันดีกว่า ศิลปะที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อมีบทบาทอันเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของประชาชนส่วนรวม สร้างขึ้นเพื่อรับใช้ชีวิตทางสังคมของมวลชน มิใช่สร้างขึ้นเพียงเพื่อที่จะให้เป็นศิลปะที่โด่อยู่เฉยๆ เหมือนหัวตอ อันไม่ยอมมีบทบาทใดๆ ในสังคม

จากที่กล่าวมานั้นศิลปะไม่ใช่พื้นที่สำหรับการหลีกหนีความจริงเสมอไป ตรงกันข้าม ศิลปะควรมีหน้าที่กระตุ้นให้คนเผชิญกับความจริง  หรือได้เห็นความจริงในแง่มุมที่แตกต่าง เพราะศิลปะเป็นที่ที่ช่วยให้เราเผชิญกับความจริงได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีที่แยบยลของศิลปินที่ใช้มายาเป็นเครื่องมือ ศิลปินจึงต้องเผชิญกับความจริงก่อน  พินิจพิเคราะห์ และแสดงความจริงผ่านทัศนะของตนเองออกมาผ่านงานศิลปะตามแขนงของตน

| การเลือกข้างทางศิลปะ

จุดที่น่าสนใจคือการพัฒนาผลงานตั้งแต่ผลงานชุดห้องเรียนประวัติศาสตร์ มีพัฒนาการทางความคิดหรืออุดมการณ์อย่างไร เหมือนหรือแตกต่างจากเดิมแค่ไหน ประวัติศาสตร์เดือนตุลา อดีตที่ตกหล่นถูกกลับมาพูดซ้ำอย่างจงใจ หรือไม่จงใจ ยังมีความหมายอะไรอยู่หรือไม่? ท่ามกลางภาวะสังคมการเมืองในปัจจุบัน

“ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ประวัติศาสตร์ทั้งสองช่วงก็เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจทางการเมือง โดยไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเดือนตุลา ทำให้พวกเขาตื่นตัว และเชื่อว่าอะไรก็เป็นไปได้ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จากการที่ดิฉันได้สัมภาษณ์คนหนุ่มสาวในขบวนการสีเสื้อใดก็ตาม พวกเขามักบอกว่าได้แรงบันดาลใจจากการมางานนิทรรศการแบบนี้  หรือการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของทั้งสองเหตุการณ์ ทั้งหมดเป็นการจุดไฟให้พวกเขาลุกขึ้นสู้ทางการเมือง”

การแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองมีความสำคัญต่อศิลปะอย่างไร พื้นที่ของศิลปินควรอยู่ตรงไหนในสังคม คำถามเหล่านี้ยังคงลอยอยู่ในอากาศ และยังคงมีผู้ที่ค้นหาคำตอบอยู่เสมอ ทว่าสิ่งที่ควบคู่ไปด้วยกันนั้น น่าจะเป็นการพิจารณาว่าตนเองกลายเป็นสิ่งที่ควรได้รับการตั้งคำถามเหมือนกับการเมืองหรือไม่ เพราะในโลกของศิลปะก็มีการเมืองอยู่เช่นกัน

© 2018 by ART THEORY SILPAKORN UNIVERSITY

Tel: 034-271379 | Fax: 

bottom of page