ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์
วิชาประวัติศาสตร์ไม่มีสอน

Autt Sukmoren
อัฑฒ์ สุขเหมือน
จองที่ดินในนรกไว้แล้ว

โต๊ะตัวที่12 จากผลงานชุด “ห้องเรียนปะวัติศาสตร์”
ทุกคนต้องเคยผ่านการเป็นนักเรียน และเคยได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวของ วีรชน วีรกษัตริย์ และการเสียสละที่ดีงามเพื่อมาตุภูมิ แต่คงไม่มีใครเคยรับรู้อีกด้านของประวัติศาสต์ ที่จะไม่มีทางถูกพูดถึงในห้องเรียน ในเหตุการณ์ที่วีรชนผู้เคยต่อสู้เพื่อประเทศชาติหันกระบอกปืนเข้าหาประชาชนของตัวเอง หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในวันของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากเหตุการณ์ ร.ศ.103 , 14 ตุลาและ 6 ตุลา มาจนถึงพฤษภาทมิฬ 2535
ผลงานชุด ห้องเรียนประวัติศาสตร์ ของ สุธี คุณาวิชยานนท์ เป็นผลงานประเภทศิลปะ conceptual art ที่เลือกนำวิธีการหยิบยืม appropriation มาใช้ในการสร้างสรรค์ (appropriation art) ที่ยืมเอาภาพลักษณ์ และเนื้อหาทางประวัติศาตร์ ที่ไม่ถูกกล่าวถึง และบางเรื่องถือว่าเป็นปะวัติศาสตร์ต้องห้าม และนำเสนอเรื่องราวผ่านเทคนิคแกะไม้บนโต๊ะนักเรียน ประกอบด้วยโต๊ะนักเรียนทั้งหมด 17 ตัว แต่ละตัวถูกแกะเป็นภาพของเหตุการณ์ต่างๆในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่นำมาจัดวางใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อความที่ศิลปินใส่ลงไป และเนื่อหาหลักยังคงอยู่ โดยเหตุการณ์ทางการเมืองที่ศิลปินหยิบยกขึ้นมาเล่านั้น เป็นเหตุการณ์ที่ล้วนมีแต่ความรุนแรง การเข่นฆ่า และความคิดเห็นที่ไม่ลงรอยกัน อ้างอิงจากหกเหตุการณ์ ได้แก่ กลุ่ม ร.ศ.130สมัยรัชกาลที่ 5, นายเทียนวรรณ, การเปลี่ยนแปลงในวันที่ 24 มิถุนายน 2475, การเมืองยุคเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย, 14 ตุลาและ 6 ตุลา มาจนถึงพฤษภาทมิฬ 2535โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ทุกเหตุการณ์ มีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นฉนวนเหตุ และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์24มิถุนายน 2475 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก โดยภาพจำสำคัญของเหตุการณ์นี้ คือหมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย ซึ่งศิลปินเลือกที่จะหยิบภาพจำดักกล่าวมาใช้ในงานศิลปะชุดนี้
หรือในกรณี เหตุการณ์ เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเดินทางกลับประเทศของจอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่ได้หนีออกไปนอกประเทศอีกครั้ง, ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล เสนีย์ ปราโมช และ การสังหารโหดช่างไฟฟ้า 2 คน ที่จังหวัดนครปฐมโดยฝั่งขวา เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่มีฉนวนเหตุมาจากความขัดแย้นทางกาเมืองและจบลงด้วยความรุนแรง และในหตุการณ์นี้เองก็มีภาพอันเป็นที่จดจำอยู่มาก และภาพที่ศิลปินเลือกมาทำงานศิลปะ คือภาพ การแขวนคอใต้ต้นมาขาม และ ภาพ นายสล่าง บุญนาค กำลังเล็งปืนเข้าไปในมหาวิทยาลัย เป็นต้นฉบับของภาพบนโต๊ะตัวที่12 จากผลงานชุด “ ห้องเรียนประวัติศาสตร์ ”

ฝูงชนยิ้มขณะดูชายใช้เก้าอี้พับตีร่างของวิชิตชัย อมรกุล

นายสล้าง บุนนาค กำลังเล็งปืนเข้าไปในมหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าประวัติศาสตร์ในส่วนนี่ จะไม่ถูกพูดถึงในบทเรียนของกะทรวงเป็นอันขาด เสมือนเป็นประวัติศาสตร์ต้องห้าม การที่ศิลปินเลือกที่จะนำเสนอเรื่องราวดังกล่าวผ่านอุปกรการเรียนการสอน อย่างโต๊ะนักเรียนนั้น เป็นการนำประวัติศาสตร์ต้องห้ามดังกล่าวมาจัดวางใหม่ในบริบทของสื่อการเรียนการสอน และให้ผู้ชมงานซึ่งในที่นี้คือนักเรียน จะได้มีส่วนร่วมกับประวัติศาสตร์นั้น โดยการนำแผ่นกระดาษมาฝน (Rubbing) ด้วยสีชอล์คบนหน้าโต๊ะเพื่อเก็บเอาภาพเหล่านั้นกลับไปด้วย เหมือนกับการที่นักเรียนจดบันทึกบทเรียน แล้วแต่ละคนจะฝนออกมาอย่างไรก็ได้ กล่าวคือ ศิลปินได้หยิบยืมเอาภาพและประวัติศาสตร์การเมืองมาสร้างเป็นผลงานศิลปะ แล้วผู้ชมก็ได้หยิมยืมเรื่องราวเหล่านั้นด้วยการฝนเอาภาพจากโต๊ะลงบนกระดาษ โดยที่จะอากลับไปมากแค่ไหน หรือเลือกส่วนใด ขึ้นอยู่กับการตีความและการจัดองค์ประกอบของตัวผู้ชมเอง เป็นการหยิบยืมจากการหยิบยืมอีกทอดหนึ่ง
นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ผลงานชุดนี้ของ สุธี คุณาวิชยานนท์ ได้เคยนำเสนอในรูปแบบศิลปะจัดวางเฉพาะพื้นที่ หรือเจาะจงพื้นที่เฉพาะ (site specific art) อีกด้วย ผลงานชุดนี้ได้รับการจัดแสดงและถูกติดตั้งมาหลายครั้ง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุด คือครั้งที่ผลงานได้ถูกติดตั้งไว้ที่ ถนนราชดำเนินกลาง หันหน้าเข้าหาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระหว่าง 1-14พ.ค. 43 เนื่องในโอกาสการฉลอง100 ปี นายปรีดี พนมยงค์ ภายใต้งานศิลปกรรมกลางแจ้ง ประชาธิปไตยในแง่งาม ซึ่งถือได้ว่า ผลงานชุดนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งกับสถานที่ และมีเรื่องราวที่สนับสนุนงานศิลปะได้อย่างลงตัว จึงถือได้ว่า ณ ตอนที่จัดแสดงอยู่ที่ตรงนั้น ผลงานชุดนี้ได้กลายเป็น ศิลปะเฉพาะที่คู่กับถนนราชดำเนินกลางไปแล้ว และตรงส่วนนั้นเองยังถือได้อีกว่า เป็นการหยิบยืมเรื่องราวของสถานที่เพื่อมาส่งเสริมให้กับประเด็นในงานที่ศิลปินต้องการจะสื่อสารถึงผู้ชม อย่างไรก็ดี ผลงานชุดนี่เป็นมากกว่าแค่สื่อในการบอกเล่าประวัติศาสตร์การเมือง แต่เป็นเหมือนอนุสรณ์ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้กับคนรุ่นหลังได้ตระหนัก ว่าปะวัติศาสตร์ของประเทศเรานั้นไม่ได้มีแต่ด้านที่สวยงาม ถึงแม้ว่าเราไม่จำเป็นจะต้องป่าวประกาศเรื่องราวเหล่านั้นออกไป แต่อย่างน้อยเราต้องยอมรับว่ามันเคยเกิดขึ้นจริง และไม่ปล่อยให้มันถูกลบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างที่ผู้มีส่วนต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ตั้งใจไว้